KM Process : กพร



กระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process Model )
เป็นองค์ประกอบกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย
การสร้างและถ่ายโอนความรู้ ดังเช่น  SECI MODEL หรือ Knowledge Spiral  และได้มีการกล่าวถึง ทาเกชิ ( Takeuchi ) และ นาโนกะ ( Nanoka )  และได้มีการ พัฒนาการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และการจัดเก็บความรู้ขึ้น ส่วนอีกท่านหนึ่ง คือ อลัน ฟรอสท์ (Alan Frost. 2010) ได้มีการกำหนดขั้นตอนกรอบการจัดการความรู้(KM Framework) ประกอบด้วย การระบุความต้องการ (Identification of needs) และ การกำหนดแหล่งความรู้ (Identification of knowledge resources) การแสวงหาและสร้างความรู้ (Acquisition , creation or elimination of knowledges) การดึงความรู้มาใช้และแบ่งปัน (Retrieval , application and sharing knowledge) และการจัดเก็บความรู้ (Storage of knowledge) ส่วนในประเทศไทยได้มีการกำหนดรูปแบบของการทำ KM โดยใช้ framework และ model เหล่านี้

รูปแบบการจัดการความรู้ตามแนวทางสำนักงาน ก.พ.ร. ประกอบด้วย กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ดังนี้

(ดังภาพที่ 1.3) มีรายละเอียดต่อไปนี้


1.       การบ่งชี้ความรู้:เป็นการระบุเกี่ยวกับความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย พันธกิจขององกรค์  เช่น เรามีความรู้อะไรบ้าง ความรู้นั้นอยู่ในรูปแบบไหน และอยู่กับใคร

2.       การสร้างและแสวงหาความรู้:  คือการสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา และสามารถ ค้นหาความรู้ได้จากภายนอกมากมาย  และยังคงความรู้เดิมไว้ แล้ว แยกความรู้ที่ไม่ใช้แล้วออกไป เพื่อนำสิ่งใหม่ๆเข้ามา

3.       การจัดความรู้ให้เป็นระบบ: การจจัดหมวดหมู่ความรู้ให้อยู่ตามประเภท ต่างๆที่ได้กำหนดไว้เช่น กฎระเบียบ ขั้นตอนในการทำงาน การกำหนดวิธีจัดเก็บ การสืบค้น หรือกระทั่ง การเรียกคืน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ความรู้ในสิ่งนั้นๆ

4.       การประมวลและกลั่นกรองความรู้: เป็นการเรียบเรียงความถูกต้อง ความทันสมัยที่ใช้งานได้ของความรู้ หรือการปรับความรู้นั้นๆให้สมบูรณ์

5.       การเข้าถึงความรู้ : เป็นการช่วยให้ผู้ใช้หาความรู้นั้นได้สะดวกและเข้าถึงความต้องการต่างๆได้ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์

6.       การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้: เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้จาก 2 วิธี ได้แก่
1.       Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.       Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรม กลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน

7.       การเรียนรู้ : เป็นการนำความรู้ที่หาได้หรือแลกเปลี่ยนสืบค้นจากที่ต่างๆนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน เช่น เกิดระบบ การเรียนรู้จากวงจร “สร้างองค์ความรู้นำพาความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ ใหม่” และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น